หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

เป็นวิหารหลักทางขึ้นห่มผ้าบูชาพระบรมธาตุ ที่มีงานประติมากรรมปูนปั้นฝีมือชั้นเยี่ยมของชาติ บอกเรื่องราวการละโลกออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ และบรรดาเทพท้าวผู้พิทักษ์รักษารพบรมธาตุกระทั่งพระนารายณ์และพรหมที่บานประตูจำหลักไม้ชิ้นเยี่ยมที่ปลายบันได

เล่าว่าพลิติและพลิมุ่ย สองเศรษฐีชาวงลังกาได้รับคำสั่งพระเจ้ากรุงลังกาให้มาช่วยสร้างพระบรมธาตุที่เมืองนคร แต่เดินทางมาถึงช้าจึงสร้างวิหารนี้ขึ้น ขณะกำลังสร้างนั้นบุตรชายสองคนชื่อนายมดกับนายหมูเกิดทะเลาะกันเรื่องการชนไก่แล้วฆ่ากันตาย เศรษฐีจึงนำอัฐิบุตรมาตำเคล้าปูนแล้วปั้นเป็นรูปเสด็จออมหาภิเนษกรมและพระพุทธรูปไว้ในวิหารนี้ นิยมเรียก วิหารพระมหาภิเนษกรม นี้ว่า วิหารพระม้า หรือ วิหารพระทรงม้า ตามภาพปูนปั้นนี้

พระทรงม้า มหาภิเนษกรม เป็นภาพปูนปั้นขนาดใหญ่ปิดทองลวดลายวิจิตรสวยงามมาก นับเป็นงานปูนปั้นภายในอาคารที่ใหญ่ เก่าแก่และสวยงามมากที่สุดชิ้นหนึ่งของชาติที่คงเหลือในสภาพสมบูรณ์ ผ่านการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ตอนปลายอยุธยาประกอบด้วยภาพปูนปั้นแสดงขณะพระสิทธัตถะ กำลังพิจารณาละชีวิตคฤหัสถ์ ราชสมบัติ ราชวังที่มีพระนางยโสธราพิมพาบรรทมอยู่กับพระราหุลกุมารพร้อมพนักงานดนตรีร่ายรำพัดวี ขึ้นม้ากัณฐกะออกจากวัง มีเหล่าเทพยดาแห่แหนมาพบพญามารยืนขวางที่ปากทางเสมือนปริศนาธรรมสำหรับคนเข้าวัด ภาพปูนปั้นเชิงบันไดทางตะวันออกเป็นของเก่าดั้งเดิมและวิจิตรกว่าทางทิศตะวันตกที่น่าจะทำขึ้นภายหลังโดยช่างท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

จตุคามรามเทพท้าวและเหล่าภาพยนตร์ผู้ปกปักรักษาพระบรมธาตุเป็นงานปูนปั้นลอยตัวรายรอบเชิงบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณสมกับตามตำนานระบุว่า “ เจ้ากากภาษาผูกภาพยนตร์ ด้วยเวทมนต์คาถาเป็นยักษ์ ครุฑ นาค สิงห์ โค ม้าและช้าง ” ประกอบด้วยยักษ์คู่คือ ท้าวเวฬุราชและท้าวเวชสุวรรณ ครุฑคู่ คือ ท้าววิรุฬปักษ์ และ ท้าววิรุฬหก นาคคู่คือ ท้าวทตตรฐมหาราช โดยที่ยอดบันไดเป็นคู่ของท้าวจตุคาม และ ท้าวรามเทพ นั่งพิทักษ์อยู่ มีสิงห์สามคู่ ขนาบเชิงบันได คู่ล่างสีแดงยืนสงบอยู่คู่กลางสีเหลืองนั่งเผยอปากขู่ คู่บนสีดำนั่งยกสองขาหน้าอ้าปากกว้างคำราม

**ภาพยนตร์ หมายถึง หุ่นที่ผูกขึ้นด้วยฟ่อนหญ้าแล้วปลุกเสกด้วยเวทมนตร์คาถา

ผนังบันไดปั้นเป็นรูป หมู่พฤกษาในกระถาง ให้ดอกออกผลมีนก ลิง กระรอกน่ารัก ที่โคนไม้มีถ้วยน้อย วางไว้คล้ายรับบุญ ที่รูปปั้นเหล่านี้พบปุ่มถ้วย ประดับไว้ในตำแหน่งสำคัญชวนนึกว่าเป็นปุ่มรหัสลับสำหรับภาพยนตร์ที่ผูกเวทมนตร์คาถาไว้ปกปักรักษาพระบรมธาตุ ทั้งนี้มีรอยจารึกชื่อท้าวต่าง ๆ ไว้บนแผ่นหินอ่อนบนรูปปั้นตามอักขรวีธีท้องถิ่นแทบทุกรูป ตอนเหนือสุดของผนังบันไดด้านตะวันออกเป็นรอยพระพุทธบาทจำลองที่นับเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองตามพุทธคติ ด้านตะวันออกเป็นรูปพระนารายณ์ บ้างว่าเป็นพระหลักเมือง บ้างว่าเป็นพระทรงเมือง ที่ทุกเมืองโบราณที่สืบต่อคติพราหมณ์ มีไว้ครบทั้งพระหลักเมืองพระทรงเมืองและพระเสื้อเมือง

สุดยอดบันไดเป็นประตูไม้บานใหญ่แกะสลักจากไม้แผ่นเดียวเป็นรูปลอยตัวเต็มองค์ประดับกระจกของพระพรหมที่บานด้านตะวันออก และพระนารายณ์ ที่บานด้านตะวันตก นับเป็นงานศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของชาติอีกชิ้นหนึ่งที่คาดว่าเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นต้นแบบของพระหลักเมืองที่ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน

เหนือบันไดเป็นระย้าโคมไฟสมัยรัชกาลที่ ๕ มองลงไปหน้าบันไดมีพระพุทธรูปยืนปูนปั้น ขนาดใหญ่ ๕ องค์ จารึกด้วยอักขระดั้งเดิมไว้ว่า “ พระพุทธรูปองค์นี้ปางห้ามพยาธิครั้งเกิดไข้ห่าในเมือง ไพศาล ” “ พระสาวกองค์นี้ชื่อว่าพระโมกคัล์ลาย์นะ” และ “ พระสาวกองค์นี้ชื่อว่าพระสาลีบุตร ” โดยบนผนังวิหารเหนือบานประตูยังมีตาลปัตรพระราชทานถวายบูชาพระบรมธาตุในรัชกาลปัจจุบันด้วย

ที่หน้าประตูวิหารพระม้าด้านทิศตะวันออกมีหอระฆังระบุปีสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ แขวน ระฆังสำริด ใบใหญ่ของเก่า หล่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๐


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]