จตุคามรามเทพ
หมายถึงเทพรักษาพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชสององค์
คือ ท้าวขัดตุคาม และ ท้าวรามเทพ
ซึ่งเดิมในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์เป็นเทพชั้นสูง
และมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
แต่เมื่อภูมิภาคแถบอุษาคเนย์นี้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาเข้ามา
ท้าวขัดตุคาม และ ท้าวรามเทพ
จึงถูกเปลี่ยนสถานะเป็นเทวดารักษาพระบรมธาตุและเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น
ท้าวจตุคาม
และสถิตอยู่บนที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2530
เมื่อมีการตั้งดวงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่
จึงมีการอัญเชิญจตุคามรามเทพไปสถิต ณ
ที่นั้นเป็นต้นมา
ท้าวจตุคาม |
ท้าวรามเทพ |
แม้กาลต่อมาจะล่มสลายไปตามกาลเวลาและยุคสมัยเปลี่ยนไป
ธ ยังสถิตอยู่ ณ รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสอง
ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราชนั่นเอง ส่วนบริวารทั้ง ๔
เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นกัน
ส่วนเทวดารักษาเมืองโดยรอบศาลหลักเมืองนั้น
อธิบายไว้เป็น สามแนวหรือ สามระดับ คือ
แนวแรก (ระดับล่าง)
เป็นเทวดารักษาทิศ
เทวดารักษาทิศเหนือชื่อ ท้าวกุเวร
เทวดารักษาทิศตะวันออก ชื่อ ท้าวธตรฐ
เทวดารักษา ทิศใต้ ชื่อ ท้าววิรุฬหก
เทวดารักษาทิศ ตะวันตก ชื่อ ท้าววิรุฬปักษ์
แนวที่สอง (ระดับกลาง)
เป็นจตุโลกเทพ
พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง
พระพรหมเมือง
พระบันดาลเมือง
แนวที่สาม (ระดับสูง )
เป็นไปตามคติพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนามหายาน
พระธยานิพุทธไวโรจนะพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง
พระธยานิพุทธอักโษภยะพุทธเจ้าอยู่ด้าน ตะวันออก
พระธยานิพุทธอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตก
พระธยานิพุทธรัตนสมภวพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้
พระธยานิพุทธอโมฆสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ
หลักเมืองอันงดงามที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้
องค์จตุคามรามเทพ
และบริวารนี่เองที่ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฏด้วยการประทับทรง
หรือ ผ่านร่าง
มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมือง แก้อาถรรพณ์
สร้างความรุ่งเรือง สงบร่มเย็น
คืนสู่นครศรีธรรมราชอีกวาระหนึ่ง
ในการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชนั้น
ทราบกันดีว่าประกอบด้วยพิธีกรรมสำคัญๆ
หลายครั้งหลายวาระ ซึ่งในพิธีกรรมแต่ละครั้ง
คณะกรรมการผู้ดำเนินการสร้างหลักเมือง
ได้จัดสร้างวัต
ถุมงคลขึ้นมาเป็นที่ระลึก
แจกจ่ายสมณาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์
สมทบทุนในการสร้างหลักเมือง