หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

พระเนื้อผงทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว แบบลูกประคำก้นหอย บนฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งรองรับด้วยฐานแท่น 3 ชั้น ห่มสบงเฉียงชายสังฆาฏิสั้นปลายแฉกเหมือนเขี้ยวตะขาบ คล้ายกับพระพุทธสิหิงค์เมืองนครศรีธรรมราช

กล่าวกันว่า พระพุทธสิงหลปฏิมา ดังกล่าวนี้ พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 แห่งประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์ศรีวิชัย ซึ่งครอบครองราชย์สมบัติอาณาจักรสิงหลระหว่าง พ.ศ. 1696 ถึง พ.ศ. 1729 ผู้ทรงฟื้นฟูพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ ดังปรากฏความในจารึกกลัยาณียกย่องว่า ทรงเป็น “ พระเจ้าศิริสัฆโพธิปรากรมพาหุ ” อันเป็นแบบฉบับของศาสนาพุทธ นิกายลังกาวงศ์ ในสมัยต่อมาแพร่หลายเข้ามารุ่งเรืองอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง นครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าพระพุทธสิหิงค์ได้สร้างขึ้นในสมัยนั้น

ต่อมาราชโอรสของกษัตริย์ศรีวิชัยองค์หนึ่งพระนามว่า พระเจ้านิสสังกะมัลละ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสุภัทรา ราชธิดาของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ครั้นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของศรีลังกาสวรรคตพระเจ้านิสสังกะมัลละได้เสด็จขึ้นครองราชย์อาณาจักรสิงหลใน พ.ศ 1730 พระองค์ทรงสร้างพระมหาเจดีย์รุวันเวลิแซยะ หรือ พระธาตุหาดทรายแก้ว ขึ้นในกรุงโปโลนนารุวะ เมืองหลวงของลังกา โดยลอกเลียนเลียนแบบไปจากพระมหาธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช ศิลาจารึกของพระองค์กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ชัดเจน

ภายหลังเกิดปัญหาเกี่ยวกับการครองราชย์สมบัติขึ้นในประเทศศรีลังกา พระเจ้าจันทรภาณุศิริธรรมราชา จึงยกกองทัพเรือไปปิดล้อมเมืองหลวงของอาณาจักรสิงหล ส่งทูตไปเจรจาของให้พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 2 ส่งมอบ พระพุทธสิหิงค์ พระทันตธาตุ และบาตรของพระพุทธเจ้าให้แก่พระองค์ เมื่อถูกปฏิเสธกองทัพ พระเจ้าจันทรภาณุจึงปิดฉากโจมตีไปทั่งกรุงลงกา ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในคัมภีร์จุลวงศ์กล่าวว่า ใน พ.ศ. 1779 ชาวกะราชา พระนาม จันทรภาณุ ยกกองทัพเรือไปย่ำยีเกาะลังกาแต่ถูกต่อต้านจนล่าถอยกลับไป หลังจากนั้นยกกองทัพเรือไปโจมตีลังกาอีกครั้งหนึ่ง

เพื่อให้สอดคล้องกับคตินิยมในการนับถือศาสนาพุทธ นิกายหินยาน ซึ่งเข้ามาแทนที่การนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน เมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 จึงได้สร้างพระพุทธรูปสำคัญอันเป็นต้นแบบของการสร้างพระพุทธรูปแบบสุโขทัย เชียงแสน ของชาวไทย-ลาว ในภาคเหนือ ไว้เป็นสัญลักษณ์ในคราวสร้างพระผงหลักเมืองให้หลากหลายสอดคล้องกับคตินิยม โดยยึดถือรูปแบบพระพุทธสิหิงค์เป็นหลักเพื่อคงความงดงามของศิลปกรรมแห่งชาวทะเลใต้ไว้ และมีรูปพระราหูอมจันทร์ ตลอดจนหัวใจพระคาถาไว้ด้านหลัง ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ไม่ให้ขัดแย้งกับหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ที่ห้ามมิให้เชื่อถือสิ่งใด นอกจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

ดังนั้น พระพุทธสิงหลปฏิมา อันเป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะศรีวิชัยและศิลปะลังกา ต่อมาได้กลายเป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์ไทย จึงถูกนำมาดัดแปลงแต่งเติมให้มีรูปทรงได้สัดส่วนผสมผสานกับนัยความหมายในหลักปรัชญาหลายประการ เพื่อให้ประชาชนบูชาบับถือได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ดังความกล่าวที่ว่า ผู้ใดบูชาเราจะพแต่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และการปลุกเสกส่วนผสมของมวลสารก็เป็นเช่นเดียวกับ พระผงสุริยัน – จันทรา และในการสร้างก็สร้างเพียงสามสี คือ สีดำ สีขาว และสีแดง ซึ่งแสดงถึง องค์สุริยัน – จันทราและองค์จตุคามรามเทพ หากท่านหาพระผงสุริยัน – จันทรา ไม่ได้แล้วก็หาพระพุทธสิหิงค์มาบูชาก็ได้พระพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกันทุกประการ


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]