หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

" พระราหู ไม่ใช่ยักษ์มาร ผีโขมด ไม่ใช่ความหลงมัวเมาในตัณหา ไม่ใช่ความโง่เขลาเบาปัญญา
แท้จริงแล้ว พระราหู คืออะไร
"

นสมัยโบราณ เมื่อคนเรามีความรู้ในทางดาราศาสตร์ยังไม่กว้างขวาง คราใดเกิดปรากฎการณ์ จันทรคลาส หรือ สุริยคลาส ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่อง พระราหูไล่จับพระจันทร์ และพระอาทิตย์ เมื่อจับได้ก็จะอมไว้ บังเกิดความมืดปกคลุมไว้ หรือเกิดวามกลัวว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ จะดับไปชั่วนิรันดร์ จึงต้องช่วยกันแก้ไขด้วยการ ตีเกราะ เคาะกะลา จุดประทัด ยิงปืน นัยว่าเพื่อทำให้พระราหูตกใจกลัว จะได้คายพระจันทร์ พระอาทิตย์ รีบหลบหนีไป

เรื่องราวของ พระราหู ผู้มีอานุภาพร้ายกาเป็นที่น่าเกรงขาม ส่วนใหญ่มีอยู่ในคัมภีร์โหราศาสตร์ กล่าวไวในรูปตำนานแตกต่างกันหลายฉบับ โดยสมมุติว่าพระราหูเป็นเทวดากึ่งอสูรเกิดจากพระอิศวรเจ้าทรงสร้างขึ้นจาก หัวผีโขมด 12 หัว นำมาป่นแล้วประพรมด้วยน้ำอมฤตจึงเกิดเป็นพระราหูเทวบุตรขึ้นในสวรรค์ชั้นฟ้า มีอิทธิฤทธิ์ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แก่ผู้ใด

พระราหูอมจันทร์

ต่อมาเหล่าเทวดาได้ชักชวนกันสร้างน้ำอมฤต แต่พระราหูทำแชเชือน ไม่ให้ความร่วมมือครั้งเหล่าทวยเทพชุมนุมกันกวนน้ำอมฤต เสร็จสิ้น พระราหู แอบเข้าไปลักกินน้ำอมฤต และพระจันทร์ กับ พระอาทิตย์ไปพบเห็นเข้า จึงนำความไปฟ้องต่อพระนารายณ์ผู้เป็นใหญ่ พระนารายณ์ทรงพิโรธขว้างจักรไปตัดกาย ราหู ขาดออกเป็น 2 ท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่มน้ำอมฤต จึงไม่ตาย ท่อนหัวเป็นยักษ์ ล่องลอยอยู่ในห้วงอากาศ คอยไล่จับพระจันทร์ พระอาทิตย์ กลืนกินด้วยความอาฆาตแค้นส่วนท่อนล่างมีลักษณะคล้ายงู กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดความมืดขึ้นบนพื้นโลกอยู่เนือง ๆ
ผู้ที่ไม่รู้ถึงนัยอันล้ำลึกขิงวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งซ่อนเร้นความความรอบรู้ ความลับของธรรมชาติไว้ในรูปนิทานปรัมปรา สำคัญผิดคิดว่า พระราหู เปรียบดังความมืดมัวเมาเหมือนดังกิเลสตัณหาที่คอยติดตามทำลายด้วยจิตของมนุษย์ให้เกิดความเขลา จนถึงกับกล่าวคำเปรียบเปรยถึงคุณสมบัติในทางชั่วร้ายไว้ว่า “ ดูมัวเมา ให้ดูราหู ” ดังนี้เป็นต้น

นอกจากคัมภีร์โหราศาสตร์กล่าวถึง พระราหู แล้ว เรื่องพระราหูยังมีอยู่ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาในหัวข้อ  " จันทิมสูตร” และ “ สุริยสูตร " อ้างว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถี ปรากฏ ว่า จันทิมเทวบุตร ถูกอสุรินทรราหูจับพระจันทร์จะกลืนกิน พระจันทร์จึงขอร้องขอให้ พระพุทธเจ้า คุ้มครองป้องกันให้พ้นจากการคุกคามของพระราหู ในที่สุดพระองค์ทรงใช้คาถาทรมานพระราหู จนยอมปล่อยพระจันทร์ และหันมาเลื่อมใสศาสนาพุทธ ในทำนองเดียวกันพระอาทิตย์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจาก พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์จนพระราหู ลดทิฐิมานะ ยอมถวายอภิวาทพระศาสดา ละเลิกเป็นอันธพาล เลื่อมใสในหลักธรรมของพระ ตถาคต ( พระไตรปิฎกเล่มที่ 15 ข้อ 241-2520)

ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า จันทรคราส สุริยคลาส ดังปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดจาก วงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ คราใดที่ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน กล่าวคือ ดวงจันทร์อยู่ตรงกลางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ เงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาวมาบังบางส่วนของโลก ก็จะเกิดสุริยุปราคาขึ้นในตอนกลางวัน หรืออาจเรียกได้ว่า พระราหูอมพระอาทิตย์


ภาพต่อเนื่องแสดงดวงจันทร์เพ็ญที่ค่อย ๆ ถูกเงาโลกกลืนกินระหว่างการเกิดจันทรุปราคา
ถ่ายจากฮ่องกง ภาพซ้ายบนสุดถ่ายเมื่อเวลา 2.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น (1.45 น. ตามเวลาในไทย)
ภาพขวาล่าง ถ่ายเมื่อเวลา 4.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (3.00 น. ตามเวลาในไทย)
 

แต่ถ้าโลกอยู่ตรงกลาง แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกทำให้เกิดเงามืด ทอดยาวไปยังดวงจันทร์ทำให้เกิดเงามืดขึ้นบังแสงจันทร์ในเวลากลางคืน เรียกว่า จันทรุปราคา หรือ พระราหูอมจันทร์

วิชาโหราศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า ศิวศาสตร์ หรือ โลกศาสตร์ เป็นวิชาการที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ผู้ที่จะเรียนรู้ต้องเป็นคนที่มีสติปัญญาดี มีความรู้ในศาสตร์อื่นอีกมากมายมาประกอบจึงอาจเรียนรู้วิชาการลึกลับให้แตกฉานได้ โหราศาสตร์จึงไม่ใช่เรื่องงมงาย หรือเชื่อถือในลักษณะผิด ๆ เพราะโดยแท้จริงแล้วก็คือความเข้าใจในทางธรรมชาติวิทยา อันเกิดจาการโคจรหมุนเวียนของดวงดาวในจักรวาล ซึ่งสัมพันธ์ต่อกันในทางแสง และแรงดึงดูด แต่ที่แปลกประหลาด คือ โลก ของเรานั้นเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว ที่มีระบุธาตุทั้ง 4 พร้อมมูลอยู่ในตัว และมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มไว้ดุจดังเรือนกระจก บันดาลให้เกิดความอบอุ่น เหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]