หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

               
พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระบรมธาตุเจดีย์ตลอดทั้งปลียอดครั้งใหญ่ ได้พบว่าตามแผ่นทองหุ้มปลียอดพระบรมธาตุล้วนจารึกสะท้อนถึงนิมิตมุ่งหมายเหล่านั้นมากมายว่า
  • มีศรัทธาเอาทองคำหนัก ๗ บาท ๑ สลึง ตราสังแผ่หุ้มยอดพระบรมธาตุ นิพพานปจฺจโยโหตุ ฯ (จ.๑๑) ...
  • เอาแหวนขึ้นถวายพระบรมธาตุ เกิดไปชาติใด อย่ารู้ ยากรู้จน รู้ทรพล ตราบเท่าเข้านิพพาน (จ.๔๔) ...
  • ได้ห่ม ขอทันพระศรีอารย์เถิด (จ.๕)...
  • ด้วยกันคิดศรัทธาเอาทองคำ ๑๑ มวน หนัก ๒๓ ตำลึง ๑ เฟื้อง ขึ้นสรวมยอดพระบรมธาตุ ขอให้เป็นปัจจัยแก่พระปรินิพพาน (จ.๔)...
  • เอาทองขึ้นหุ้มพระบรมธาตุเจ้า ขอให้สำเร็จพระนิพพาน (จ.๒๗...
  • ขอให้สำเร็จสมบัติสามประการ คือ มนุษยสมบัติแลสวรรคสมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุดตามประเพณีพระอริยเจ้า แต่ก่อนนั้นแล (จ.๕๒)...
  • ได้เอาขึ้นสวมพระศรีรัตนมหาธาตุ แลด้วยเดชกุศลนี้ขอเป็นปัจจัยตราบเท่าเข้านิพพาน โหตุจงมี ...
  • ขอเป็นประไจยตราเท่าเถิงนิพาน (จ.๑๗)...
  • ขอให้พ้นทุกข์ ตั้งแต่ชาตินี้ ไปภายหน้า ขอได้เกิดทันพระศรีอารย์เถิด (จ.๓)...

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้เท้าความตั้งแต่สมัยพุทธ ครั้งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วมีการแบ่งและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่ต่าง ๆ โดยในคราวถวายพระเพลิงนั้นพระเกษมมหาเถระได้กำบังกายเข้าในกองเพลิงอัญเชิญพระทันตธาตุออกไปถวายพระเจ้าสิงหราชแห่งนครป่าหมาก ต่อมาเรียกนครนี้ว่า ทนธบุรี มีกษัตริน์เมืองต่าง ๆ ยกทัพมาเชิงพระทันตธาตุนี้มิได้ขาด กระทั่งกษัตริย์หนุ่ม ๕ พระองค์ยกทัพเข้าประชิดเมือง พราะเจ้าสิงหราชคาดการณ์ว่ายากจะรักษาเมืองไว้ได้ จึงให้พระราชธิดา ราชบุตร พระนางเหมชาลา พระทนทกุมาร อัญเชิญพระทันตธาตุลงกำปั่นหนีไปกรุงลังกาเพื่อถวายแก่พระเจ้ากรุงลังกาที่ได้มาทูลของหลายครั้งแล้วแต่เรือกำปั่นถูกพายุพัดแตกกลางทะเลซัดทั้งสองฝั่งแล้วเดินทางถึงหาดทรายแก้วฝังพระทันตธาตุที่ซ่อนในพระเกศาของพระนางเหมชาลาลง ณ หาดทรายแก้ว จนเมื่อพระมหาเถรพรหมเทพพบเข้า ได้นำสองกุมารอัญเชิญพระทันตธาตุต่อไปยังลังกา ถวายต่อพระเจ้าทศคามมุนีสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพร้อมผูกภาพยนตร์รักษาไว้ในลังกา แล้วให้อัญเชิญพระบรมสารีริก ๒ ทะนาน ประทานให้พระนางเหมชาลาและเจ้าทนทกุมารอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว ที่พระทันตธาตุเคยมาสถิต ก่อนจะเสด็จกลับทนธบุรีที่ศึกสงบลงแล้ว โดยที่หาดทรายแก้วนั้น ต่อมาเมื่อพระเจ้าธรรมโศกราช แห่งเมืองเอาวราชทรงอพยพผู้คนหนีไข้ห่าลงมาทางใต้ตามลำดับถึงหาดทรายแก้ว แก้ไข้ห่าได้สำเร็จด้วยพิธีทำเงินตรานะโมแล้ว ให้ขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ แก้ภาพยนตร์ได้แล้วทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้น

" พระบรมธาจุเจดีย์นครศรีธรรมราชนี้แม้ว่าจะมีผู้กล่าวว่าเป็นของที่สร้างคลุมพระสถูปองค์เดิมภายในก็ตาม แต่ลักษณะก็เป็นของเก่าแก่และเชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลของพระเจดีย์แบบลังกา เจดีย์พระบรมธาตุคงสร้างขึ้นในรามพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยที่เมืองนครศรีธรรมราช ยังเป็นราชธานีของภาคใต้อยู่ลักษณะของพระเจดีย์ในระยะแรกนั้นมีเจดีย์เล็กประดับที่มุมทั้งสี่ และรอบๆ ฐานประดับด้วยช้างหัวโผล่ออกมานอกซุ้ม พระเจดีย์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะได้กลายเป็นแบบอย่างให้แก่พระสถูปเจดีย์อีกหลายๆ องค์ ซึ่งสร้างขึ้นมาในสมัยหลัง ๆ จนทุกวันนี้ พระเจดีย์พระธาตุนครศรีธรรมราชกลายเป็นเจดีย์ทีส่งอิทธิพลในทางศิลปะสถาปัตยกรรมไปยังเจดีย์ในภาคต่าง ๆ ทางภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย ” รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม"
 

๑). พระเจ้าทศคามมุนีพ้อมกับชื่อพระเจ้าทุฎฐฃามณีกษัตริย์ลังกาผู้ครองกรุงอนุราธปุระ ระหว่างพุทธศักราช ๓๘๒ – ๔๐๖

๒.) พระทันตธาตุแห่งลังกา มีประวัติฝ่ายลังกาว่านำมายังลังกาจากอินเดียในปีที่ ๙ แห่งรัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวัณณะ (พ.ศ.๘๔๖ – ๘๗๔) โดยเจ้าชายทันตกุมารและเจ้าหญิงเหมมาลาโดยไม่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับหาดทรายแก้ว และพระทันตธาตุของลังกานี้ถือเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ประจำชาติศรีลังกาตลอดมา

๓.) ตามหลักฐานของทางลังกา พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชจันทรภาณุแห่งตามพรลิงค์นครศรีธรรมราชเคยยกกองทัพตีลังกา ๒ ครั้งในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ (พ.ศ. ๑๗๗๙ – ๑๘๑๓)

๔.) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชุภาพ ทรงมีพระดำริว่าพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชองค์เดิมเป็นศิลปะศรีวิชัยมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ สร้างตามแบบมหายานทรงมณฑป หลังคาเป็นสถูปมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสภัทรดิศ ดิศกุล ทรงมีพระดำริว่าพระบรมธาตุเจดีย์องค์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์คิริ เวเหระ ในกรุงโปโลนนารุวะ สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพุมหาราช (พ.ศ.๑๖๙๖ – ๑๗๒๙) โดยพระมเหสีชื่อพระนางสุภัทรา

๕.) หาดทรายแก้วเป็นชื่อสันดอนทรายชายฝั่งตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมาราช เกิดจากทรายจากเทือกเขาค่อยๆ ตกตะกอนสะสมในทะเลชายฝั่งจนตื่นเขิน นานเข้าจจึงขยายเป็นแผ่นดินที่ราบชายฝั่งสันทรายเก่าที่เกิดในยุคโฮโลซีน ( Holocene) เมื่อประมาณ ๘,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ปีที่แล้ว

๖.) เมืองนครศรีธรรมราชมีหลายชื่อ เริ่มปรากฏในหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗-๘ ว่าตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทมาลิงคัม ตันมาลิง ตันเหมยหลิว จนมาเป็นศรีธรรมราช สิริธรรมนคร ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ และอย่างฝรั่งว่า ลิกอร์ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยท่ตั้งเมืองช่วงหนึ่งเมืองประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาจอยู่ที่บริวเณบ้านท่าเรือ แล้วย้ายเมืองมาบริเวณเมืองพระเวียง (เมืองโคกกระหม่อม) ก่อนที่จะย้ายมายังเมืองเก่า (เมืองนครดอนพระ) อันเป็นสถานที่ตั้งพระบรมธาตุเจดีย์ในบริเวณกำแพงเมืองเก่าเมืองประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙

๗.) ภาพยนตร์ หมายถึง หุ่นที่ผูกขึ้นด้วยฟ่อนหญ้าแล้วปลุกเสกด้วยเวทมนตร์คาถา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
เดิมเป็นวัดพุทธาวาสประจำเมือง ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา เป็นธุระของชาวเมืองเจ้าเมืองและคณะสงฆ์ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปในภาคใต้ร่วมกันบำรุงรักษา รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวว่า เป็นมหาเจดีย์ของชุมชนพุทธในภูมิภาคเช่นเดียวกับมาหาเจดีย์อื่น ๆเช่น พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม ที่ไม่สร้างในตัวเมืองใด แต่สร้างไว้นอกเมืองเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกไม่จำกัดเมือง โดยเมืองที่สร้างหรือยู่ใกล้ได้รับฐานะเป็นผู้ดูแลรักษาและได้รับการยอมรับเป็นศูนย์กลางโดยปริยาย เฉพาะที่พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชนั้นนอกจากมีคณะสงฆ์ลังกาแก้วที่วัดตะเขียนบางแก้ว เมืองพัทลุง และคณะสงฆ์กาชาดที่วัดพะโคะ สงขลาแล้ว ยังมีระบบการดูแลรักษาโดยตั้งพระเถระผู้ใหญ่ของเมือง ๒ รูป หัวหน้าผู้รักษาพระบรมธาตุ (พระครูเหมเจติยานุรักษ์-ผู้รักษาเจดีย์ทอง และพระครูเหมเจติยาภิบาลพระผู้ดูแลเจดีย์ทอง) ร่วมกับพระครูกาแก้ว-การาม – กาชาด – กาเดิม ที่ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุทางทิศต่าง ๆ พระบรมธาตุเจดีย์เพิ่งจะอยู่ภายในตัวเมืองในสมัยอยุธยาเมื่อย้ายเมืองจากเมืองพระเวียงทางตอนใต้มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ครอบคลุมองค์พระบรมธาตุเจดีย์ไว้

ในสมัยรัชการลที่ ๕ พระบรมธาตุเจดีย์มีสภาพถูกทอดทิ้งทรุดโทรมมาก พระภิกษุปานอาสานำชาวใต้และชาวนครทำการซ่อมแซมครั้งสำคัญระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๗ – ๒๔๔๑ จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล เรียกชื่อทั่วไปว่า วัดพระบรมธาตุ วัดพระบมรธาตุ วัดพระมหาธาตุ ต่อมาในคราวเสด็จประพาสเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานนามอย่างเป็นทางการเพื่อการจัดระเบียบวัดหลวงไม่ให้ชื่อพ้องพระอารามหลวงที่มีมหาเจดีย์ในภาคใต้ว่าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พร้อมกับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๘ โดยรวมเอาวัดร้างทางทิศเหนือ (วัดมังคุด) และใต้ (วัดพระเดิม) รวมเข้าด้วย โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระบรมธาตุระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ และการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระบรมธาตุระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๓๘

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นศูนย์กลางและสัญลักษณ์ทางจิตใจที่สำคัญของชาติและพุทธศาสนิกชนทั้งไทย และต่างประเทศโดยเฉพาะชาวมาเลเซีย มีประเพณีประจำที่สำคัญคือประเพณีแห่งผ้าขึ้นธาตุ กวนข้าวยาคูมธุปายาส ตักบาตรธูปเทียน การสวดด้านและงานบุญเดือนสิบเป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่หลายองค์ ได้แก่ พระรัตนธัชมุนี (คณฐาภรณเถร –แบน เปรียญ) พระธรรมรัตโนภาษ (โอภาโสเถร – ประดับเปรียญ) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช –ธรรมยุตองค์ปัจจุบัน


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]