หลักเมือง นครศรีธรรมราช

 | หน้าหลัก | จตุคามรามเทพ | ตำนานพระบรมธาตุศิริธัมมราช | ประวัติและการสร้างศาลหลักเมืองนครศรี | พระผงสุริยัน–จันทรา และดวงตราพญาราหุ |
| ดวงฤกษ์พิธีเททองหล่อพระบูชา 5 เศียร | คณะกรรมการศิษยานุศิษย์ | ติดต่อ |

 

เรียนรู้ บูชา พระบรมธาตุ
วิหารพระม้า
วัตถุมงคล ที่ระลึก
พระราหูคืออะไร
พระพุทธสิงหิงค์ปฎิมา
พระหลักเมืองเนื้อโลหะ
ความเป็นมาพระพังพระกาฬ
จอมนาคราชพังพระกาฬ
ความมหัศจรรย์ของหลักเมือง

จากใจผู้จัดทำ
ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
พระเครื่องพระสะสม

คณะกรรมการผู้ร่วมสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชหลายท่าน รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับมีผู้ปลอมแปลงพระหลักเมืองแบบต่าง ๆ ผ้ายันต์ และวัตถุมงคลอื่น นำไปหลอกขายผู้คนโดยอ้าวว่าเป็น ของแท้ เพราะเชื่อว่า พลตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้สร้าง จึงซื้อของปลอมกันไปมากมาย นำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่คณะกรรมการหลักเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก จึงปรึกษาหารือเห็นพ้องต้องกันว่า หากผู้เขียนเปิดเผยประวัติเกี่ยวกับความเป็นมาเกี่ยวกับการสร้าง พระพังพระกาฬ นำหลักฐานมาตีแผ่ให้ผู้รับรู้อย่างกว้างขวางแล้ว นอกจากช่วยให้ประชาชนบังเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องและอาจยับยั้งเหล่านักต้มตุ๋นหลอกลวงแล้ว ยังช่วยเชิดชูประวัติอันแสนพิสดารของ พระปิดตาเมืองนคร อีกทางหนึ่งด้วย ขอให้ผู้เขียนเรียบเรียงความเป็นมาของ พระพังพระกาฬ ให้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ฝากไว้ให้ลูกหลานจดจำไปชั่วกาลนาน ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจำใจเล่าถึงประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับ พระพังพระกาฬ

การสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชและการประกอบพิธีกรรมส่วนใหญ่ ทำกันในบ้านพักผู้กับกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการบันทึกภาพถ่ายเอาไว้ทุกระยะ เพื่อให้ลูกหลานในอนาคตได้เห็นเป็นหลักฐาน ในขณะที่คณะอาจารย์ผู้แกะสลักเสาหลักเมืองดำเนินการกันอยู่นั้น องค์จตุคามรามเทพ มักมาประทับในร่างทรงบอกกล่าวให้ดำเนินการต่าง ๆ ไปตามขั้นตอนของ ฤกษ์ยาม วันหนึ่งในขณะประกอบพิธีกรรม เขียนผ้ายันต์ องค์จตุคามรามเทพ ถามผู้เขียนว่าเห็นเห็นพระ พังพระกาฬ เคยได้ยินได้ฟังเรื่องนี้มาบ้างหรือไม่ ผู้เขียนตอบว่าเคยเห็นแต่นานมาแล้ว รู้ว่าศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเป็นที่เล่าลือ องค์จตุคามรามเทพ บอกว่านั้นแหละเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของพวกศรีวิชัย ไม่ได้สร้างกันมาเป็นพันปีแล้ว ใคร่ขอให้ผู้เขียนออกแบบสร้าง พระพังพระกาฬ ขึ้นมาใหม่ทำเป็นรูปแบบกลมขนาดเท่าเหรียญบาทก็พอ ด้านหน้าทำเป็นรูปพระพังพระกาฬ ด้านหลังทำเป็นรูปพระราหู 8 ตัว เรียงรายล้อมรอบดวงชะตา ทำไปตามแต่ผู้เขียนจินตนาการ ผู้เขียนไม่กล้ารับปากเพราะว่าภาพ พระพังพระกาฬ ที่เคยเห็นมาช้านานลางเลือนจนไม่อาจเขียนขึ้นเป็นรูปร่างที่ถูกต้องได้ และไม่รู้ว่าไปหาแม่แบบมาจากไหน เอาเป็นว่าทำเฉพาะรูปพระราหู 8 ตัว ล้อมรอบดวงชะตาด้านหลังก่อน เมื่อใดมีแม่แบบจึงค่อยทำให้เสร็จสิ้น องค์จตุคามรามเทพ จึงบอกว่า " เดี่ยวจะมีคนเอามาให้เอง "ผู้เขียนนึกในใจว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่คนบ้าก็เป็นคนเมาเท่านั้น ที่เอาพระศักดิ์สิทธิ์ มีค่าหายากยิ่งไปเที่ยวให้ใครต่อใคร เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะเป็นไปได้ แต่ องค์จตุคามรามเทพ ก็ยืนยันว่า " เอาเถอะเมื่อถึงเวลาก็จะมีคนเอามาให้เอง คอยดูก็แล้วกัน " เมื่อไม่มีแม่แบบการสร้าง พระพังพระกาฬ ก็ต้องเลื่อนเวลาออกไปไม่มีกำหนด สิ่งที่จะทำได้ในเวลานั้นก็คือ การสร้าง เหรียญหลักเมือง และ พระผงสุริยัน-จันทรา ตลอดจนผ้ายันต์แบบต่าง ๆ ทยอยสร้างกันไปก่อน รอคอยวันเวลามีผู้นำ พระพังพระกาฬ ไปให้

ต่อมาไม่นานท่านผู้ว่า กำจร สถิรกุล คุณนาย และ คณะ ได้กรุณาแวะไปที่บ้านพักของผู้เขียนเมื่อเข้าไปเห็นผู้เขียนกำลังประกอบพิธีกรรมกันอยู่ ท่านได้ให้เกียรตินั่งกับพื้นโดยไม่ถือเนื้อถือตัวอะไรเลย พอท่านผู้ว่ากำจรฯ นั่งลงยกมือไหว้ องค์จตุคามรามเทพ ท่านก็หยิบบายศรีปากถ้วยไปวางไว้ตรงหน้าท่านผู้ว่า พร้อมกับกล่าวต้อนรับท่านผู้ว่ากำจรฯ และสอบถามว่ามีธุระอะไรกับผู้เขียน ท่านผู้ว่าหยิบพระองค์หนึ่งในกระเป๋าส่งให้ผู้เขียนบอกว่าตั้งใจจะมามอบให้กับท่านผู้กำกับฯ ในวันรับประทานอาหารกันแต่ไม่มีเวลา ขอมอบให้ในวันนี้เลย ผู้เขียนมองดูพระที่ท่านกำจรฯ มอบให้เกิดอาการขนพองสยองเกล้าเพราะว่าเป็น พระพังพระกาฬ เหมือนกับที่ผู้เขียนเคยเห็นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ไม่น่าเชื่อว่าปาฏิหาริย์มีจริง องค์จตุคามรามเทพ จึงถามผู้เขียนว่า “ เอามาให้แล้วใช่ไหม ที่นี้เชื่อหรือยัง” พร้อมกันนั้นได้เขียนผ้ายันต์ให้ผ้ายันต์มอบให้ท่านผู้ว่ากำจรฯ คุณนาย และคณะ เพื่อเป็นการตอบแทน นี้คือปรากฏการณ์อันแสนแปลกประหลาดของ พระบิดาแห่งศรีวิชัย หรือที่เรียกกันว่า พระพังพระกาฬ

หลังจากนั้นท่านผู้เขียนพยายามสืบสวนว่า ท่านผู้ว่า กำจร สถิรกุล ได้ พระพังพระกาฬ มาอย่างไร มีผู้เล่าให้ฟังว่า ท่านผู้ว่ากำจรฯ เป็นชาวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ศึกษาสนใจเกี่ยวกับการสมาธิ และ พลัง อำนาจจิต เคยศึกษาในต่างประเทศ กลับมารับราชการเจริญก้าวหน้าเป็นอธิบดี และผู้ว่าการธนาคารชาติ นับว่าเป็นคนดีศรีปากพนังคนหนึ่งที่เดียว ท่านกลับมาบ้านเกิดเพราะว่าญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต จึงเดินทางมาบำเพ็ญกุศลศพ ตามธรรมเนียมชาวปักษ์ใต้ ในตอนเช้ามักไปกินกาแฟนั่งคุยกันที่ร้านจนสายแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน ท่านผู้ว่ากำจรฯ ก็ปฏิบัติตามวัฒนธรรมดั้งเดิม ตื่นเช้าก็เดินไปนั่งร้านกาแฟ ในขณะที่เดินไปไปถึงหน้าร้านมีพระเครื่องกันอยู่ แม้ผู้ขายบอกราคาถูกก็ไม่มีใครซื้อ เพราะเป็นพระไม่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของวงการ แต่ท่านผู้ว่ากำจร ดูด้วยญาณวิเศษว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เกิดความรู้สึกว่าองค์หนึ่งน่านะนำไปมอบให้ผู้กำกับการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะทำหน้าที่ต่อสู้กับอิทธิพลอำนาจมืดอย่างหนักหน่วง อีกองค์หนึ่งท่านผู้ว่าจะเก็บไว้เอง ตกลงกันในราคาองค์ล่ะ 250 บาท

เมื่อซื้อเสร็จก็เกิดปัญหาติดตามมาก็คือ ท่านผู้ว่าฯ กำจร ไม่รู้จักกับผู้เขียน แล้วจะมอบให้กันอย่างไร แต่ท่านไม่ละความพยายาม ได้ติดต่อกับ ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง จนกระทั้งพบกับผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับผู้เขียนดี และไปช่วยทำหลักเมืองอยู่เสมอ จึงให้ช่วยนัดหมายว่าจะขอเลี้ยงผู้กำกับสักมื้อหนึ่งถ้าไม่รังเกียจ ผู้เขียนตอบตกลงด้วยความยินดีแต่เสมอเงื่อนไขว่า ถ้าเลี้ยงกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราชขอให้ผู้เขียนเป็นผู้ออกค่าให้จ่าย ถ้าเลี้ยงกันที่กรุงเทพฯ ถ้าท่านผู้ว่าฯ จะกรุณาก็ไม่ขัดข้อง แต่ข้อตกลงเป็นอันระงับไปเพราะผู้ว่าฯ กำจร ต้องรีบกลับกรุงเทพฯ เพราะมีราชการด่วน ถึงกระนั้นก็ตามท่านได้กรุณานำ พระพังพระกาฬ ไปมอบให้ผู้เขียนถึงบ้านพัก นับเป็นบุญคุณที่จดจำไปชั่วชีวิต ผู้เขียนไม่สนว่าท่านจะได้ พระพังพระกาฬ มาอย่างไร เรื่องราวที่ได้ยินมาถูกต้องหรือไม่ เพราะว่าความสำคัญอยู่ที่ องค์จตุคามรามเทพ รู้ได้อย่างไร

การได้รับ พระพังพระกาฬ หรือ พระปิดตาศรีวิชัย มาเป็นต้นแบบ ผู้เขียนจึงออกแบบ พระพังพระกาฬ ได้อย่างง่ายดาย และให้ องค์จตุคามรามเทพ จารึกหัวใจคาถา มอบหมายให้ช่างเขียนแบบจนเป็นที่พอใจแล้ว ได้ว่าจ้างช่างในกรุงเทพฯ ให้เป็นผู้แกะสลักแม่พิมพ์ในแบบนูนต่ำ ช่างแกะสลักพยายามแกะแม่พิมพ์อยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จสิ้น เมื่อทดลองตีพิมพ์ลงบนแผ่นตะกั่ว แม่พิมพ์แตกร้าวใช้การไม่ได้ ต้องสลักแม่พิมพ์ใหม่ก็แตกอีก จนปัญญาโรงงานจะทำได้ องค์จตุคามรามเทพ จึงทำพิธีกรรมบอกกล่าวให้ ขุนเหล็ก คอยดูแลการพิมพ์ พระพังพระกาฬ ให้เรียบร้อย ในที่สุดการแกะแม่พิมพ์ได้สำเร็จลง คุณศิริชัย บูลกุล รับเป็นนายทุนในการสร้าง พระพังพระกาฬ ทั้งชนิดทองคำ เงิน และสำริด จึงไม่มีรุ่นหนวดสั้น หนวดยาว เพราะทำจากโรงงานเดียวกันทั้งสิ้น พระพังพระกาฬ ทั้งหมดเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนนำมาเก็บไว้ที่บ้านพัก องค์จตุคามรามเทพ ได้ประกอบพิธีกรรมตามฤกษ์พานาที จนเสร็จสิ้น ต่อจากนั้นส่งไปให้ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช อธิฐานจิต แล้วนำไปปลุกเสกบนเขาขุนพนม ประกอบพิธีกรรมทางทะเล บังเกิดปรากฏการณ์แปลกประหลาดมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพิธีกรรมกลางทะเลในขณะที่คลื่นลมแรงจัด จนเรือประมงไม่กล้าออกจากฝั่ง แต่เมื่อถึงเวลามหาฤกษ์ ของ พระพังพระกาฬ บันดาลให้คลื่นลมสงบในบัดดล ฝนหยุด พระจันทร์ทรงกลด พิสดารเกินกว่าบรรยายให้หมดสิ้นได้

พระพังพระกาฬ หรือ พระหลักเมืองทุกแบบ ไม่ได้จัดสร้างขึ้นตามหลักพุทธพาณิชย์ ดังนั้นแม้ว่าจะประติมากรรมขึ้นด้วยศิลปะศาสตร์อันสูงส่ง และงามเลิศ ตลอดจนใช้วัตถุธาตุที่มีคุณภาพสูงก็ตาม แต่ไม่มีราคาค่างวดอะไร เพราะต้องการให้ประชาชนเช่าบูชา ในราคาถูกที่สุด จำนวนมากที่สุด ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างหลักเมืองของตน เพราะสิ่งของส่วนใหญ่ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธา จึงเป็นต้นทุนที่ต่ำมาก เพื่อนฝูงคนรู้จักชอบพอ ผู้ใต้บังคับบัญชา พี่น้องประชาชน ต่างอุทิศแรงงาน จนเกือบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร จึงเป็นไปในลักษณะให้พี่น้องประชาชนนำไปกราบไหว้บูชาอย่างทั่วถึง เนื่องจาก องค์จตุคามรามเทพ ล่วงรู้ว่าไม่กี่ข้างหน้า เมื่อดาวพระเสาร์โคจรเข้าสู่ราศีมีน ในปีพ.ศ. 2539 จะเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงขึ้นในประเทศไทย เหมือนดังกรุงรัตโกสินทร์ถูกข้าศึกโจมตีทางอากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนจะบังเกิดความอดอยากยากแค้น เดือดร้อนไปทั่วแผ่นดิน พระหลักเมืองจะเป็นขวัญกำลังใจช่วยผู้คนให้ฝ่าฟันวิกฤติการณ์ร้ายแรงไปได้ เสียงบอกกล่าวเล่าลือในเรื่องบนได้ไหว้รับใครมีอยู่รู้ผลด้วยตนเอง ทำให้มีผู้เรียกร้องต้องการกันมาก พระหลักเมือง จึงมีราคาแพงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพังพระกาฬ สำคัญผิดคิดว่า รุ่นหนวดสั้นผู้เขียนเป็นผู้สร้าง รุ่นหนวดยาวตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นผู้สร้าง อวดอ้างพิธีกรรม การปลุกเสก หลอกลวงให้ผู้คนหลงเชื่อเพื่อขายของปลอม


งื่อนไขการใช้และคำประกาศของเว็บไซต์หลักเมือง๓๐.คอม
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 : ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไขรูป หรือ ข้อความใดๆ ไปใช้ ก่อนได้รับอนุญาต
สงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ โดย [นายประยงค์ - นางนวลจันทร์ เชาวิลตถวิล]